ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้สินเชื่อธนาคารประชาชน กู้สูงสุด 200,000 บาท ผ่อนยาว 8 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน เช็กเงื่อนไข
วันที่ 10 ธ.ค. 2567 เพจเฟซบุ๊ก GSB Society ของ ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ให้กู้สูงสุด 200,000 บาท ผ่อนยาว 8 ปี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
จุดเด่นของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน
- เป็นเงินกู้สำหรับลงทุน
- เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
- เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
- เป็นเงินกู้สำหรับชำระหนี้สิน
- ต้องไม่นำไปปิดบัญชีเดิมที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคาร ทั้งนี้ ต้องไม่นำเงินกู้บางส่วนจากการกู้ในครั้งนี้ ไปลงทุนในสลากออมสินแล้วนำมาเป็นหลักประกันเงินกู้ในคราวเดียวกัน
รายละเอียดสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน
จำนวนเงินให้กู้
การขอเงินกู้ สามารถกู้ได้ตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 200,000 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมจำนวนเงินกู้คงเหลือตามสัญญาเดิมของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนทุกประเภทกับจำนวนเงินที่ขอกู้ในครั้งนี้ ณ วันที่ทำนิติกรรมสัญญา ต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย
อัตราดอกเบี้ยคงที่
- กรณีลูกค้าทั่วไป – ร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- กรณีลูกค้าที่มีหน่วยงานรวบรวมเงินนำส่งธนาคาร – ร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
- กรณีทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ – ร้อยละ 0.85 ต่อเดือน
- หลักทรัพย์ค้ำประกัน – ร้อยละ 0.50 – 1.00 ต่อเดือน
- อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) -เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามสัญญาบวก 0.25 ต่อเดือน
ระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้
1.เงินกู้ระยะสั้น ให้มีการทบทวนวงเงินทุกปี
2.เงินกู้ระยะยาว
- วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท ให้กู้ได้ไม่เกิน 3 ปี (36 งวด)
- วงเงินกู้ตั้งแต่ 50,001-100,000 บาท ให้กู้ได้ไม่เกิน 5 ปี (60 งวด)
- วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001-200,000 บาท ให้กู้ได้ไม่เกิน 8 ปี (96 งวด)
3.หากผู้กู้ประสงค์ชำระคืนเงินกู้เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดตาม 2.ให้ใช้หลักประกันการกู้เงินดังนี้
- หลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงิน ให้กู้ได้ไม่เกิน 8 ปี (96 งวด)
- หลักประกันทางธุรกิจเต็มวงเงิน ให้กู้ได้ไม่เกิน 5 ปี (60 งวด)
วิธีการคำนวณการชำระคืนเงินกู้
- ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดรายเดือน
- การคำนวณชำระหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate)
- กรณีชำระเงินงวดตามปกติเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสัญญา สามารถชำระคืนทั้งจำนวนเพื่อนำไปคำนวณวงเงินกู้ใหม่ได้
คุณสมบัติ
- เป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
- เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย บริการ และ ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่าย
- เป็นผู้มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ลูกจ้างของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชน ที่มีเงินเดือนประจำ
- เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 60 ปี ในกรณีที่ผู้กู้มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องให้ผู้ปกครองจัดทำหนังสือให้ความยินยอมในการจัดทำนิติกรรมสัญญา
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- มีสถานที่ประกอบอาชีพ/ที่อยู่อาศัยแน่นอน
- เปิดบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียก ณ สาขาที่ยื่นขอกู้เงิน
- ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
- ต้องไม่เป็นผู้กู้สินเชื่อพัฒนาองค์กรชุมชน (รายบุคคล) อเนกประสงค์
- เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
หลักประกันเงินกู้ สามารถใช้หลักประกันประเภทหนึ่งประเภทใด ดังนี้
1.กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 60 ปี
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้
- ไม่เป็นพนักงานธนาคารออมสิน
- ค้ำประกันผู้กู้ได้ ไม่เกิน 2 สัญญา เมื่อรวมทุกสัญญาแล้วต้องไม่เกิน 200,000 บาท
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
(1) วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท เป็นบุคคลที่ธนาคารให้ความเชื่อถือ หรือเป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน ตั้งแต่เดือนละ 9,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 1 คน
(2) วงเงินกู้ตั้งแต่ 50,001 -200,000 บาท
(2.1) เป็นบุคคลที่ธนาคารให้ความเชื่อถือ หรือเป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน ตั้งแต่เดือนละ 9,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 2 คน
(2.2) เป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน ตั้งแต่เดือนละ 20,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 1 คน
2. หลักประกันประเภทอื่นที่เป็นของผู้กู้หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ค้ำประกันได้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด ที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ มีไฟฟ้า สาธารณูปโภคพื้นฐานตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ซึ่งสามารถเข้า-ออกได้สะดวก ให้รับเป็นหลักประกันได้ร้อยละ 100 ของราคาประเมิน ทั้งนี้ผู้ค้ำประกันต้องไม่เป็นเจ้าของหลักประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับเดียวกัน
3. หลักประกันทางธุรกิจที่กำหนดรับเป็นหลักประกัน ดังนี้
- หนังสือรับรอง สิทธิการเช่าของแผงค้า / ร้านค้า ที่สามารถเปลี่ยนมือได้ ให้รับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าหนังสือรับรอง สิทธิการเช่าที่ใช้เป็นหลักประกัน
- ยานพาหนะที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ให้รับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของราคาซื้อขายรวมอุปกรณ์ตกแต่งที่ติดกับตัวรถ และไม่เกินราคาประเมินของธนาคาร แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า กรณีเป็นยานพาหนะที่ใช้งานแล้ว คำนวณราคาประเมินให้ร้อยละ 70 ของราคาประเมินยานพาหนะที่ใช้งานแล้ว